ระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว ตอน 2


ระบบการจ้างงแรงงานต่างด้าว
 ข้อจำกัดในการจ้างแรงงานตามสถานะของวีซ่า
 การจ้างงานระยะสั้น (C-4), อาจารย์ (E-1), การสอนภาษาต่างประเทศ (E-2), วิจัย (E-3), การโอนเทคโนโลยี (E-4), การจ้างงานด้านวิชาชีพ (E-5), ศิลปินหรือความบันเทิง (E-6), กิจกรรมที่กำหนดโดยเฉพาะ (E-7), การจ้างงานที่มิใช่ด้านวิชาชีพ (E-9), ลูกเรือ (E-10), การทำงานเกี่ยวกับวันหยุด (H-1) หรือการเข้าเยี่ยมเยือนโดยมีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (H-2)
- ห้ามแรงงานต่างด้าวที่มีวีซ่าประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้นทำงานในสาขาที่ไม่ได้กำหนดไว้ (มาตรา 18.(2)[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง])
※ ทั้งนี้ข้อยกเว้นกำหนดว่าบุคคลที่มีความรู้ทางวิชาชีพเทคโนโลยีหรือทักษะความเชี่ยวชาญที่อาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีในฐานะคนต่างด้าวที่ได้ลงทะเบียนในสถานะอาจารย์ (E-1) การสอนภาษาต่างประเทศ (E-2) วิจัย (E-3) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (E-4) การจ้างงานด้านวิชาชีพ (E-5) ศิลปิน/ความบันเทิง (E-6) หรือกิจกรรมที่กำหนดโดยเฉพาะ (E-7) จะไม่ถูกบังคับภายใต้ข้อกำหนดเรื่องข้อจำกัดทางด้านสาขาการทำงานข้างต้น ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 21.(3) และ[กฎเกณฑ์ที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 26-2.(1))
※ การฝ่าฝืนความข้างต้นจะถือเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ (จำคุกสูงสุด 1 ปีหรือปรับสูงสุด 10 ล้านวอนตามวรรคย่อย 5 ของมาตรา 95 แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง])
- แรงงานต่างด้าวที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานที่ทำงานภายในขอบเขตที่ได้รับอนุญาตภายใต้วีซ่าของตนจะต้องมีใบอนุญาตที่ได้รับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมล่วงหน้า (หัวหน้าสำนักงานการเข้าเมืองหรือสาขาในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย) ([ฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 21.(1))
※ ทั้งนี้ข้อยกเว้นกำหนดว่าบุคคลที่มีความรู้ทางวิชาชีพเทคโนโลยีหรือทักษะความเชี่ยวชาญที่อาศัยในสาธารณรัฐเกาหลีที่ได้ลงทะเบียนในในฐานะชาวต่างชาติที่มีสถานะเป็นอาจารย์ (E-1) การสอนภาษาต่างประเทศ (E-2) วิจัย (E-3) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (E-4) ศิลปิน/ความบันเทิง (E-6) หรือกิจกรรมที่กำหนดโดยเฉพาะ (E-7) สามารถแจ้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมภายใน 15 วันหลังจากเปลี่ยนหรือเพิ่มสถานที่ทำงาน (ข้อ 21.1 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง)
※ การฝ่าฝืนความข้างต้นจะมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปีหรือโทษปรับสูงสุด 10 ล้านวอน (วรรคย่อย 5 ของมาตรา 95 แห่ง ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]วรรคย่อย 5 ของมาตรา 95).
- ภายใต้ข้อยกเว้นการเสนองานตามกฎหมายอื่นห้ามมิให้ผู้ใดจ้างงานหรือเสนองานแก่บุคคลใดที่ไม่มีใบอนุญาตเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 21.(1) และ 21.(2))
※ แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเปลี่ยนสถานที่ทำงานจะมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปีหรือโทษปรับสูงสุด 20 ล้านวอน ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]วรรคย่อย 13 ของมาตรา 94) และบุคคลใดที่จ้างชาวต่างชาติดังกล่าวจะมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปีหรือโทษปรับสูงสุด 10 ล้านวอน([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]วรรคย่อย 6 ของมาตรา 95)
 วีซ่าผู้อาศัย (F-2) (ข้อ (ง) ถึง (ฉ) ใช้บังคับเฉพาะบุคคลที่มีความประสงค์จะทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง) ชนชาติเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ (F-4) หรือผู้อาศัยถาวร (F-5)หรือ การขอย้ายถิ่นฐานอันเนื่องมาจากการสมรส(F-6)
- แรงงานต่างด้าวประเภทดังกล่าวจะไม่ถูกจำกัดด้านการประกอบอาชีพ (ข้อ 23(2) ถึง (4) แห่ง ([รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 23.(2) ถึง (4)
- อย่างไรก็ตามแรงงานต่างด้าวที่สอดคล้องตามตารางย่อย (12) ข้างต้น [ชนชาติเกาหลีที่อยู่ต่างแดน (F-4)] จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้การไม่ถูกจำกัดข้างต้นไม่เป็นการยกเว้นการมีใบอนุญาตทำงานที่เป็นการเฉพาะหรือการมีคุณสมบัติด้านอื่นๆที่กำหนดสำหรับแต่ละสาขาอาชีพ ([รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 23.(3))
1. แรงงานที่ใช้แรงงานทั่วไป: แรงงานที่ใช้แรงงานตามปกติทั่วไปที่จัดอยู่ภายใต้การทำงานโดยแรงงานทั่วไปภายใต้ [อาชีพมาตรฐานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี] (ประกาศทั่วไปแห่งอาชีพมาตรฐานแห่งสาธารณรัฐเกาหลีที่ 2007-3) ([กฏเกณฑ์ที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 27-2.(1))
2. กิจกรรมอื่นใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรหรือกิจกรรมที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ศีลธรรมอันดีและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมซึ่งหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดดังต่อไปนี้([รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 27-2(2))
ก. การจ้างงานในธุรกิจที่เก็งกำไรที่ดำเนินการด้านการออกสลากธุรกิจการแข่งขันชิงรางวัลวงล้อเสี่ยงทายการจับสลากหรือการพนันขันต่อเป็นต้นตามที่ระบุใน ([รัฐบัญญัติว่าด้วยกรณีพิเศษเกี่ยวกับกฎและการลงโทษการกระทำที่เป็นการเก็งกำไรเป็นต้น」มาตรา 2.(12) และ「รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยกรณีพิเศษเกี่ยวกับกฎและการลงโทษการกระทำที่เป็นการเก็งกำไรเป็นต้น]มาตรา 1-2)
ข. ทำงานเป็นลูกจ้างสถานบันเทิงในร้านอาหารที่ให้ความบันเทิง ([รัฐบัญญัติสุขอนามัยด้านอาหาร]มาตรา 36.(2) และ[รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการสุขอนามัยด้านอาหาร]วรรคย่อย 8 ของมาตรา 21)
ค. การจ้างงานในธุรกิจที่สอดคล้องกับข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (มาตรา 2 แห่ง「รัฐบัญญัติว่าด้วยกฎเกณฑ์เรื่องธุรกิจสนามเด็กเล่นที่มีผลกระทบต่อศีลธรรมของสาธารณชน」และ[รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยกฎเกณฑ์เรื่องธุรกิจสนามเด็กเล่นที่มีผลกระทบต่อศีลธรรมของสาธารณชน]มาตรา 2) ที่เป็นอันตรายต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
1) ธุรกิจผับและธุรกิจให้บริการเครื่องดื่ม (มาตรา 36(2) แห่ง[รัฐบัญญัติว่าด้วยการสุขอนามัยด้านอาหาร]และ[รัฐกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการสุขอนามัยด้านอาหาร]ข้อ (c) และ (d) ของวรรคย่อย 8 ของมาตรา 21)
2) ธุรกิจที่พักอาศัยร้านตัดผมและโรงอาบน้ำ ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมสุขภาพสาธารณชน]มาตรา 2.(1).2 ถึง 2.(1).4)
3) ธุรกิจห้องบันเทิงทางวีดีโอ ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมภาพยนตร์และผลิตภัณฑ์วีดีโอ]ข้อ (a) ของวรรคย่อย 16 ของมาตรา 2) ธุรกิจห้องร้องเพลง ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมการดนตรี]วรรคย่อย 13 ของมาตรา 2) และผู้ให้บริการเกมที่รวมกันและ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกม]วรรคย่อย 6 และ 8 ของมาตรา 2)
4) สถาบันสอนเต้นและธุรกิจด้านห้องแสดงเต้น ([รัฐบัญญัติว่าด้วยการติดตั้งและการใช้สถานบริการกีฬา]มาตรา 10.(1).2)
5) ธุรกิจซึ่งให้บริการจัดหา หรือ มีการจ้างแรงงานเด็กและเยาวชน จะไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดมาตรา 2 วรรคย่อย 5 ข้อ (ก), (ข้อย่อย 6) แห่ง「รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและเยาวชน」
3. กิจกรรมอื่นที่ต้องมีข้อจำกัดเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดแรงงานหรือผลประโยชน์ของสาธารณชนอื่นใด
※ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะเป็นผู้ประกาศขอบเขตของข้อจำกัดในการประกอบอาชีพของชนชาติกาหลี
ที่เป็นอยู่ต่างแดนภายหลังจากที่คณะกรรมการการทบทวนและปรับเปลี่ยนการเข้าเมืองและระยะเวลาเข้าประเทศสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดนได้ทบทวนและปรับเปลี่ยนแล้ว [[กฎเกณฑ์ที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการอพยพเข้าเมือง]มาตรา 27-2.(3) และ[ประกาศทั่วไปเรื่องขอบเขตข้อจำกัดการประกอบอาชีพของชาวเกาหลีที่มีสัญชาติต่างด้าว (F-4)]]
 (H-2) ชนชาติเกาหลีที่มีวีซ่าทำงาน (H-2)《ระบบการลงทะเบียนการจ้างงานอุตสาหกรรม ประเภทก่อสร้าง》
- ระบบการลงทะเบียนการจ้างงานอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้างมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2552 ต่อชนชาติเกาหลีที่ถูกจ้างภายใต้วีซ่าทำงานการบังคับใช้ของระบบได้แก่ชาวเกาหลีแต่ละคนที่ถือวีซ่าทำงานที่ต้องการรับจ้างในอุตสาหกรรมจะต้องมี‘ใบรับรองการจ้างงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง’ ที่ระบุถึงขั้นตอนการสมัครลงทะเบียนการจ้างงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการฝึกอบรมการจ้างงานนับแต่เดือนธันวาคม 2552 ห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวหางานในอุตสาหกรรมโดยไม่มีใบอนุญาต
- บุคคลที่ทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ไม่มีใบรับรองการจ้างงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง’ จะถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายเช่นห้ามขยายระยะเวลาการอาศัยในประเทศ (การละเมิดครั้งเดียว) และหรือถูกเพิกถอนวีซ่าหรือใบอนุญาตเข้าประเทศ (การละเมิดสองครั้งหรือมากกว่า)
-->

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : oneclick.law.go.kr