VDO การป้องกันอาการปวดหลัง

 

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO วิธีการป้องกันอัคีภัยและการใข้เครื่องมือดับเพลิง



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO อุปกรณ์ป้องกันและการเลื่อกใช้และการใช้งาน



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO หลักความปลอดภัยเบื้องต้น



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO วิธีการป้องกันอัคคีภัยและการใข้เครื่องมือดับเพลิง



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO ที่ทำงานของเราปลอดภัยไหม



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO ชีวิตปลอดภัยของชีวิต



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO ความปลอดภัยในการใช้เครื่องกด



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO ความปลอดภัยในการขนส่งในโรงงาน




ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO ความปลอดภัยและสุขอนามัยเบื้องต้นในโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับแรงงานต่างชาติ


ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

VDO การป้องกันอุบัติเหตุการขาดออกซิเจน



ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

การปกครองในเกาหลี




การปกครองในเกาหลี

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้น ละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)

อบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ประวัติศาสตร์เกาหลีใต้


ประวัติศาสตร์เกาหลีใต้

มนุษย์เริ่มเข้าไปตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเกาหลีในปัจจุบันเมื่อประมาณ 500,000 ปี ก่อนอาณาจักรแรกได้แก่ โคโชซอน (โชซอนโบราณ) ตั้งขึ้นเมื่อ 2,333 ปี ก่อนคริสตศักราช และในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสตศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร คือ โคกูเรียว แพ็กเจ และชิลลา นับเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสูงสุดในแถบนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า ยุคแห่งสามอาณาจักร ระหว่าง 57 ปีก่อน คริสตศักราช ถึงปี ค.ศ. 668

ในปี ค.ศ.668 และ 660 ตามลำดับ อาณาจักร โคกูเรียว และแพ็กเจ ได้พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรชิลลา จึบงเป็นการรวมเอาดินแดนในคาบสมุทรเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 676 ยุคชิลลารวมอาณาจักร (ปี ค.ศ. 676-935) นับเป็นยุคทองของวัฒนธรรมเกาหลี โดยเฉพาะทางด้านพุทธศิลป์ ต่อมาในยุคอาณาจักรโคเรียว (ปี ค.ศ.918-1392) มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชนชั้นปกครองขึ้น พุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติ และมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก ชื่อประเทศเกาหลีก็มาจากคำว่า โคเรียว นั่นเอง

ปี ค.ศ.1392-1910 อยู่ในสมัยราชวงศ์ โชซอน อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศเกาหลี มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างเอาจริงเอาจัง ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือ การยกย่องให้ลัทธิขงจื้อกลายเป็นคติธรรมประจำชาติ การสร้างสรรค์งานด้านวรรณศิลป์ และการประดิษฐ์ตัวอักษร ฮันกึล ในปี ค.ศ.1443 ทำให้ยุคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมเกาหลี มีเมืองฮันยาง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโซล เป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ.1394 ปราสาทและกำแพงเมืองจากในยุคนี้ยังคงมีให้เห็นจนกระทั่งปัจจุบัน

ราชวงศ์โชซอนได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1910 ภายหลังการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 35 ปี จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 กองทัพญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และถอนกำลังออกจากประเทศเกาหลีซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ คือประเทศเสรีทางใต้และประเทศคอมมิวนิสต์ทางเหนือ สามปีต่อมาประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งอยู่ทางใต้จึงจัดตั้งรัฐบาลอิสระได้สำเร็จ

สงครามเกาหลีได้ระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1950 เมื่อเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ และในที่สุดก็มีการลงนามในสัญญาสงบศึกในปี ค.ศ.1953 หลังสงครามดังกล่าว เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการฟื้นฟูประเทศให้มั่นคงและมั่งคั่งอีกครั้งหนึ่ง

ดันกุนและพงศาวดารแห่งต้นกำเนิดของเกาหลี
ในราวพันปีมาแล้ว ในยุคที่วานึง บุตรแห่งสวรรค์ปกครองโลกอยู่นั้น มีหมีและเสืออย่างละหนึ่งตัวอยากเป็นมนุษย์มาก ๆ มันจึงสวดมนต์ขอพรต่อวานึงเพื่อประสิทธิ์ประสาทพรนี้ให้แก่มัน วานึงประทับใจ และสงสารสัตว์สองตัวนี้ยิ่งนักที่มันมีความมั่นคงในสิ่งที่มันต้องการ และวานึงก็สัญญาจะแปลงร่างของมันทั้งสอง แต่มีข้อแม้ว่ามันต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำมืดเป็นเวลา 100 วัน และดำรงชีพด้วยกระเทียมและผักขมเกาหลีเท่านั้น เมื่อเสือเข้าไปอยู่ในถ้ำ และออกล่าสัตว์ไม่ได้ ความอดทนของมันหมดไปและมันก็เลิกล้มความคิดที่อยากเป็นมนุษย์ ส่วนหมีทนอยู่ในถ้ำได้ถึง 21 วัน และวานึงก็แปลงร่างมันให้เป็นหญิงสาว เมื่อ หมีกลายเป็นหญิงสาวแล้ว มันก็ขอให้วานึงให้หาคู่ครองกับมัน วานึงเห็นว่าหญิงสาวผู้นี้มีความงดงามมาก จึงเข้าพิธีวิวาห์เสียเอง หลังจากนั้นทั้งสองได้ให้กำเนิด บุตรชายชื่อว่า ดันกุน ผู้ซึ่งในภายหลังได้ก่อตั้งอาณาจักรนามว่า โคโชซอน ในปี 2333 ก่อนคริสต์กาล และนี่ก็คืออาณาจักรแรกเริ่มในคาบสมุทรเกาหลี

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : kto.or.th

ระบบการรับแรงงานต่างชาติในเกาหลี


การจ้างงานในเกาหลี
ประเทศเกาหลีมีระบบการรับแรงงานต่างชาติ  2 ระบบ คือ

1.ระบบการฝึกงาน (Training System) รัฐบาลเกาหลีอนุญาตให้องค์กรตัวแทนผู้ประกอบการจัดทำข้อตกลงนำเข้าแรงงาน ต่างชาติกับบริษัทจัดหางานที่ได้รับมอบหมายจัดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานใน 3 สาขา คือ ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนินการของสมาพันธ์ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางแห่งเกาหลี (Korea Federation of Small and Medium Business : KFSB) ภาคก่อสร้าง ภายใต้การดำเนินการของสมาคมก่อสร้างเกาหลี (The Construction Association of Korea: CAK) และภาคเกษตร ภายใต้การดำเนินการของสมาพันธ์ความร่วมมือด้านการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Cooperative Federation: NACF)
       - คนงาน ทำงานในฐานะผู้ฝึกงาน จะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 567,260 วอน)  โดยนายจ้างจัดอาหารและที่พักให้
       - บริษัทจัดหางาน ที่ได้รับมอบหมายให้จัดส่งแรงงาน มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลคนงานตลอดระยะเวลาที่ทำงานในเกาหลี และสามารถเรียกเก็บค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนงานได้ตามที่กฎหมายกำหนด และต้องผ่านการประเมินขององค์กรตัวแทนผู้ประกอบการ จึงจะได้รับการต่อสัญญาได้
2.ระบบใบอนุญาตทำงาน (Work Permit System) กระทรวงแรงงานเกาหลีคัดเลือกให้ 6 ประเทศ มีสิทธิจัดส่งคนหางานไปทำงานตามโครงการอนุญาตการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System: EPS) ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และมองโกเลีย ในส่วนของประเทศไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานใน เกาหลี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2547 โดยกระทรวงแรงงานไทย (กรมการจัดหางาน) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานผู้ส่งคนหางานให้กระทรวงแรงงานเกาหลี โดยสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกาหลี (Human Resources Development Service: HRD) MoU มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี สามารถแก้ไขหรือขยายได้ โดยการพิจารณาร่วมกันของกระทรวงแรงงานของไทยและเกาหลี
   
            สัญญาจ้างงาน สิทธิประโยชน์ของคนหางานตามระบบ EPS
             - สัญญาจ้างงานมีกำหนด ระยะเวลา ครั้งละ 1 ปี สามารถต่อสัญญาได้ คนงาน สามารถทำงานในเกาหลี ได้ 3 ปี
             - ค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คือ 700,600 วอน (ประมาณ 27,500 บาท)
             - ได้รับการคุ้มครองและสวัสดิการขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานกำหนด เช่นเดียวกับแรงงานท้องถิ่น เช่น ความประกันอุบัติเหตุทั้งในและนอกเวลาทำงาน การประกันสุขภาพ และค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานท้องถิ่น
             -  กรมการจัดหางานกำหนดเงื่อนไขการจัดส่งคนหางาน ให้นายจ้างจัดที่พักที่เหมาะสมให้คนงานโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงการทดลองงานไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และลักษณะงานต้องเป็นงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
 ณ. เดือน มิถุนายน  2549   มีแรงงานไทยทำงานอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลี ประมาณ 37,200 คน  เป็นแรงงานที่เข้าไปทำงานอย่างกฎหมาย ทั้งโดยระบบ EPS  และระบบ Traning  จำนวน 25,750 คน เป็นลักลอบเข้าไปทำงาน จำนวน 11,450 คน  จังหวัดที่มีแรงงานไทยทำงานเป็นจำนวนมากได้แก่ แถบซูวอน  อึยจองบู อินซาน อัลซาน โอซาน อินซาน โพชอน  ดงพูชอน ยองอิน เพียงแท็ค หยางจู  ในแต่ละเดือนแรงงานไทยเหล่านี้สามารถสั่งเงินกลับประเทศประมาณ 450 ล้านบาท

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

การศึกษาในเกาหลี


การศึกษาในเกาหลี
การศึกษาในประเทศเกาหลีนั้นค่อนข้างแตกต่างจากประเทศไทยมา เริ่มจากการนับอายุ จะเริมนับอายุตั้งแต่ตั้งท้อง เพราะฉะนั้นคนเกาหลีจะเหมือนอายุมากกว่าไปหนึ่งปีทั้งๆที่เกิดปีเดียวกับเรา ระบบการศึกษา

ระดับที่1 ระดับอนุบาล
อายุตั้งแต่ 3-6 ปี นักเรียนจะไปโรงเรียนตั้งแต่ 8.00-4.00 น. แล้วหลังจากนั้นก็ไปเรียนพิเศษต่อ (ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะให้ลูกไปเรียนพิเศษต่ออีกจะเริ่มให้ลูกเรียนตั้งแต่ อยู่ชั้นอนุบาล) แต่จะมีรถโรงเรียนไปรับไปส่งถึงบ้านรถจะมีลักษณะสี่เหลืองเป็นรถตู้ และรถบัสขนาดเล็ก

ระดับที่ 2 ระดับประถมศึกษา
อายุตั้งแต่ 7-12 ปี เวลาไปเรียนก็เช่นเดียวกันกับเด็กอนุบาล แต่จะไปเรียนพิเศษต่ออีก แต่อาจจะดึกกว่าเด็กอนุบาล ตั้งแต่อายุ7ขวบเด็กเกาหลีเริ่มเดินทางไปเรียนเองก็มี โดยไปรถเมล์หรือรถไฟใต้ดิน

ระดับที่3 ระดับมัธยมต้น
อายุตั้งแต่ 13-15 ปี นี้ก็เช่นเดียวกันกับระดับประถมศึกษา

ระดับที่4 ระดับมัธยมตอนปลาย
อายุตั้งแต่ 16-18 ปี เวลาก็เช่นเดียวกัน แต่ ระบบการเรียนจะไม่มีสายวิทย์ - คณิต หรือ สายศิลป์ จะเรียนทั้งหมด ถ้าอายุ 18 กำลังจะไปต่อมหาลัย เด็กที่นี้จะไปเรียนพิเศษจนถึงเกิบเที่ยงคืนถึงจะกลับบ้าน กลับบ้านแล้วก็ยังต้องไปอ่านหนังสือต่ออีกด้วย

ระดับที่ 5 อายุ 19-21 ปี ระดับอุดมศึกษา
แบบที่1 วิทยาลัย ศึกษา 2-3 ปี
แบบที่ 2 มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรม
แบบที่ 3 มหาวิทยาลัยเพื่ิอการศึกษา
แบบที่ 4 มหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยี่
แบบที่5 มหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาผ่านดาวเทียม

ในระดับมหาวิทยาลัยของเกาหลีจะไม่มีเครืองแบบ จะมีก็เป็นบ้างมหาลัยเท่านั้นแต่ส่วนใหญ่ จะใส่ชุดอะไรก็ได้ แต่ระบบมหาวิทยาลัยก็เรียน7-8วิชาเหมือนกับมหาวิทยาลัยบ้านเรา

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ภูมิศาสตร์เกาหลี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิด ภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการ ผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน (ค.ศ. 2003) ประกอบด้วย 9 จังหวัด (โด) กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของประเทศ และประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ 6 เมือง คือพูนซาน แทกู อินชน ควางจู แทจอน และ อุลซาน รวมมีเมืองทั้งหมด 77 เมือง (ซี) 88 มณฑล (กุน) ใน 9 จังหวัด

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ศาสนาเกาหลี

พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา 20 ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว 9 วัด ประเทศเกาหลี ในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย 3 อาณาจักรคือ โกคุริโอ แพกเจ และซิลลา แต่ผู้นำทั้ง 3 อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

นโยบายด้านแรงงานในเกาหลี

แรงงานไทยในเกาหลี

สาธารณรัฐเกาหลีได้เร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจนเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICS)   มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในระดับแนวหน้าของ
เอเชีย ซึ่งการพัฒนาดังกล่าว จำเป็นต้องใช้กำลังแรงงานในภาคการผลิตของระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายเกาหลี คือ Exit and Entry Control Act 1977 ไม่อนุญาตให้มีการจ้างแรงงานต่างชาติ ยกเว้นงานพิเศษบางประเภท และการเข้าไปฝึกอบรมการทำงานหรือเข้าไปทำงานผ่านบริษัทร่วมทุนของเกาหลี ดังนั้นเกาหลีจึงประสบปัญหาการขาดแคลนกำลังแรงงาน  โดยเฉพาะแรงงานกึ่งฝีมือและไร้ฝีมือ  ด้วยเหตุที่ชาวเกาหลีไม่นิยมทำงานไร้ฝีมือ ประเภท 3D ได้แก่ งานสกปรก (Dirty) งานยากลำบาก (difficult) งานเสี่ยงอันตราย (dangerous) จึงมีแรงงานจากประเทศต่างๆ ลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้ค่าตอบแทนสูง คาดว่าจำนวนแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในเกาหลีอาจมากถึง 380,000 คน แรงงานต่างชาติผิดกฎหมายในเกาหลี  ส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ไทย อินเดีย ปากีสถาน พม่า และจีน

          เมื่อปัญหาการขาดแคลนกำลังแรงงานมีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ   ดังนั้นในปี 36 รัฐบาลเกาหลีได้เปิดโอกาสให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางนำเข้าแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่กับบริษัทร่วมทุนของเกาหลีกับต่างชาติเข้าไปทำงานในเกาหลี ในรูปของการฝึกงาน (Training) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และได้ขยายระยะเวลาการฝึกงานเป็นไม่เกิน 3 ปีในเวลาต่อมา
    ภายหลังการดำเนินนโยบายรับผู้ฝึกงาน รัฐบาลเกาหลี พบว่า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังแรงงานของประเทศไม่ประสบความสำเร็จ   ทั้งยังทำให้ปัญหาแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายมีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ฝึกงานจำนวนมากหลบหนีสัญญาฝึกงานไปลักลอบทำงานที่อื่น ซึ่งได้ค่าจ้างสูงกว่า ประกอบกับระบบการรับผู้ฝึกงานอุตสาหกรรมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายโดยเฉพาะ NGOs ด้านแรงงานว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะคนต่างด้าวได้ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าปกติ  มีสภาพการทำงานที่หนัก สกปรกและเสี่ยงอันตราย ดังนั้น รัฐบาลเกาหลีจึงนำระบบการนำเข้าแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System for Foreigner: EPS) ควบคู่กันไปกับระบบ Traning  ซึ่งนโยบายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเกาหลี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 และมีผลบังคับใช้วันที่ 17 สิงหาคม 2547 โดยอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานได้เฉพาะใน 5 สาขากิจการ คือ
1.    อุตสาหกรรมการผลิต ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีพนักงานประจำน้อยกว่า 300 คน
2.    การประมง ในกิจการประมงชายฝั่งที่มีเรือลากอวนขนาด 10-25 ตัน
3.    การเกษตรและเลี้ยงสัตว์
4.    การก่อสร้าง ในกิจการที่มีงบโครงการไม่เกิน 3 หมื่น ล้านวอน
5.    การบริการ ในงาน 6 ประเภท ได้แก่ งานในภัตตาคาร งาน Business support service เช่น งานทำความสะอาดตึก งานบริการสังคม งานทำความสะอาด งานดูแลผู้ป่วย งานผู้ช่วยงานบ้าน
      อย่างไรก็ตามแม้จะอนุญาตให้สถานประกอบการนำเข้าแรงงานต่างชาติได้  รัฐบาลเกาหลีก็ได้พยายามลดการใช้แรงงานต่างชาติ โดยให้กระทรวงการค้าอุตสาหกรรมและพลังงานเกาหลีตั้งงบประมาณ สำหรับเพื่อใช้เป็นเงินอุดหนุนให้แก่โรงงานที่จ้างแรงงานชาวเกาหลีทดแทนแรงงานต่างชาติ โดยกำหนดจ่ายเงิน 500,000 วอนต่อการจ้างแรงงานทดแทน 1 คน เพื่อเป็นการสร้างงานให้แก่ชาวเกาหลีใต้ที่ว่างงาน และได้กำหนดมาตรการให้ลดอัตราการจ้างงานผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมลงร้อยละ 80 จากจำนวนในปัจจุบัน โดยจะลดโควตาผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมของประเทศผู้ส่งออกแรงงานในเกาหลีลง 2 ใน 3 แต่สำหรับกิจการที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถจ้างแรงงานท้องถิ่นที่มีค่าจ้างสูงได้ จะยังคงได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติได้ต่อไป
          แม้ว่าอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลีจะเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2003  แต่ด้วยเหตุที่มูลค่าสินค้าส่งออกยังคงขยายตัวในอัตราสูงส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  ธนาคารแห่งชาติเกาหลีประมาณการว่า ในปี 2006 อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5  แต่การที่กำลังแรงงานใหม่ของเกาหลีนิยมทำงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่จ่ายค่าตอบแทนสูง มีสวัสดิการดี  ทำให้สถานประกอบการของกลางและขนาดเล็กอันเป็นหน่วยผลิตที่สำคัญของเศรษฐกิจ  ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเช่นเดิม  คาดว่ารัฐบาลเกาหลีจะดำเนินนโยบายอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างชาติต่อไปอีกระยะหนึ่ง  ขณะนี้กระทรวงแรงงานเกาหลี อยู่ระหว่างดำเนินการทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจัดส่งแรงงานกับประเทศผู้ส่ง จำนวน 6 ประเทศ  คือ อินโดนีเซีย  มองโกลเลีย  ศรีลังกา  ฟิลิปปินส์  ไทย  เวียดนาม  และจะมีประเทศผู้ส่งใหม่อีก 4   ประเทศคืออุซาเบกิสถาน  ปากีสถาน เขมร และจีน โดย มีโควต้าการนำเข้าแรงงานต่างชาติ ปี 2006  จำนวน 34,750 คน ในระยะต่อไป สาธารณรัฐเกาหลีจะพิจารณาเพิ่มจำนวนประเทศผู้ส่งแรงงานอีก ได้แก่ อิหร่าน พม่า บังคลาเทศ เนปาล คาซัคสถาน ยูเครน เคอติซสถาน

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

สภาพภูมิอากาศเกาหลี

ประเทศเกาหลีมีสภาพอากาศอยู่ในเขตอบอุ่น และมีสี่ฤดูที่แตกต่างกันคือ


ต้นไม้จะผลิใบสะพรั่งเต็มต้น เป็นสัญญาณว่าฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มขึ้นแล้ว ในช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน และในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมจะมีหลาย ๆ วันที่แสงแดดสดใสตลอดทั้งวัน
ฤดูใบไม้ผลิเกาหลี
ในฤดูร้อนซึ่งอากาศร้อนและมีฝนตกบ้าง ต้นไม้จะเขียวชะอุ่มทั่วไป ในเดือนมิถุนายนอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสเล็กน้อย ฤดูมรสุมปกติจะเริ่มขึ้นในปลายเดือนมิถุนายน จนถึงช่วงกลางหรือปลายเดือนกรกฎาคมและในเดือนสิงหาคมอากาศจะร้อนจัดและชื้น มาก
ฤดูร้อนเกาหลี
ฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มขึ้นตอนปลายเดือนกันยายน ลมที่พัดมาจากแผ่นดินใหญ่นั้นทำให้อากาศแห้งและท้องฟ้าโปร่ง จึงเป็นช่วงที่อากาศเหมาะกับการท่องเที่ยวมากที่สุดในเดือนตุลาคม ทิวทัศน์ทั่วทั้งประเทศจะมีสีสันสดใสด้วยใบไม้ที่เปลี่ยนเป็นสีทองและสีแดง เต็มต้น
ฤดูใบไม้ร่วงเกาหลี
ฤดูอากาศจะหนาวเย็นและแห้งในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ บางครั้งมีฝนหรือหิมะ ในช่วงนี้มักจะมีวันที่อากาศหนาวจัดประมาณ 3-4 วัน สลับกับวันที่อากาศอุ่นสบาย
ฤดูหนาวเกาหลี

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ภาษาเกาหลี


   ภาษาเกาหลีภาษาเกาหลี

ภาษาเกาหลี เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนพูด โดยทั่วไป(ในจังหวัดเหยียนเปียน มณฑลจื๋อหลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลี) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การ จัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ภาษาตระกูลอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV)
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ชื่อเรียกคำว่า "ภาษาเกาหลี" ในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มีความแตกต่างกัน ในเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มักเรียกว่า โชซอนมัล (조선말) หรือหากเป็นทางการขึ้นจะเรียกว่า โชซอนอ (조선어).
ในเกาหลีใต้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกภาษาของตนว่า ฮันกุกมัล (한국말) หรือ ฮันกุกอ (한국어) หรือ กุกอ (국어) บางครั้งอาจเรียกในแบบภาษาชาวบ้านว่า อูรีมัล (แปลว่า "ภาษาของเรา"; มาจากคำว่า 우리말 (เขียนติดกันในเกาหลีใต้),หรือ 우리 말 (เขียนแยกกันในเกาหลีเหนือ)
ภาษาเกาหลีมีสำเนียงท้องถิ่นมาก มาย ภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีใต้คือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้ในพื้นที่บริเวณกรุงโซล และภาษาทางการที่ใช้ในเกาหลีเหนือคือสำเนียงท้องถิ่นที่ใช้บริเวณกรุงเปียงยาง สำเนียงท้องถิ่นโดยทั่วไปจะมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นสำเนียงท้องถิ่นบนเกาะเชจูที่มีความแตกต่างค่อนข้างมาก ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างสำเนียงท้องถิ่นแต่ละแห่งคือ การเน้นเสียง (stress) สำเนียงท้องถิ่นของกรุงโซลจะเน้นเสียงน้อยมาก และไม่ค่อยมีความสูงต่ำในการเปล่งเสียง ในทางกลับกัน สำเนียงท้องถิ่นของ คยองซัง มีความสูงต่ำของการออกเสียงอย่างมากจนคล้ายกับภาษาทางยุโรป อย่างไรก็ตามเราสามารถจำแนกสำเนียงท้องถิ่นของภาษาเกาหลีออกเป็นภูมิภาค ต่างๆได้ดังตาราง โดยพิจารณาจากขอบเขตของภูเขาและทะเล

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ระบบการจ้างงานแรงงานต่างชาติ (ระบบ EPS)

ระบบการจ้างงานแรงงานต่างชาติ

ระบบอนุญาตว่าจ้าง(EPS)เป็นระบบที่อนุญาตให้บริษัทต่างๆที่ไม่สามารถหาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศนั้นจะสามารถจ้างแรงงานต่างชาติในจำนวนที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งจะช่วยรับประกันโอกาสในการได้งานทำของแรงงานภายในประเทศในขณะเดียวกันจะช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านการขาดทรัพยากรบุคคลของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เช่นงาน3D และอื่นๆ 

งานกิจกรรมหลักของระบบอนุญาตว่าจ้าง (ระบบ EPS)

1. การจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายบริหารแรงงานต่างด้าว 
จัดตั้งคณะกรรมการสำหรับนโยบายบริหารแรงงานต่างด้าวในสำนักนายกรัฐมนตรี (หัวหน้าคณะกรรมการ : ประธานองค์กรเพื่อการประสานงานด้านนโยบายของรัฐบาล) เพื่อจัดทำแผนการคัดเลือกขนาด จำนวน ประเภทของแรงงานที่เหมาะสม จาก ประเทศต่างๆ ตามความต้องการของประเทศเกาหลีในทุกๆปี
2. การคัดเลือก และ นำเข้าแรงงานต่างด้าว
มอบหมายงานหรือกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนการเดินทางเข้าและออกนอกประเทศแก่สถา
บันพัฒนาทรัพยากรบุคคลแห่งเกาหลี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประเทศเกาหลี
3. การจ้างและการควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าว
     ระยะเวลาว่าจ้างแป็นเวลา ๓ปีและสามารถลงนามสัญญาจ้างได้ภายในระยะเวลา1ปีถึง3ปี    จะสามารถต่อเนื่องเวลาว่าจ้างอีก1ปี10เดือน ได้ในกรณีที่นายจ้างจดทะเบียนการจ้างงานซ้ำอย่างน้อย7วันล่วงหน้าก่อนวันที่ระยะเวลาว่าจ้าง3ปีจะสิ้นสุดลง เมื่อมีการตกลงในการทำสัญญาจ้างกับแรงงานต่างด้าวแล้ว นายจ้างต้องใช้เอกสารสัญญาจ้างที่เป็นแบบมาตรฐาน นายจ้างมีหน้าที่ทำประกันครบระยะเวลาเดินทางออกนอกประเทศ การประกันเพื่อรับรองการจ่ายค่าแรง และ สินเชื่อ ภายใต้ระบบอนุญาตว่าจ้าง แรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานอย่างเป็นหลัก แต่ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การปิดกิจการชั่วคราว การปิดตัวของ สถานประกอบการ หรือ การยกเลิกสัญญาจ้างที่ถูกต้อง เป็นต้น ในกรณีดังกล่าว จะอนุญาตให้  เปลี่ยนสถานที่ทำงานได้ แต่จำกัดเพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น (ภายในช่วงการจ้างงานซ้ำโดยเวลา1ปี10เดือนจำกัดจำนวณ2ครั้ง) การจัดตั้งระบบการควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวโดยการแนะนำ และการเฝ้าติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
     สำหรับสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว
1. การดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายในประเทศที่กำหนดไว้
การรับรองสิทธิและผลประโยชน์พื้นฐานภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ว่าด้วย ประกัน เพื่อชดเชยอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และสิทธิพื้นฐาน 3 ข้อ โดยที่กฏหมายนี้ สามารถคุ้มครองสิทธิที่เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศ
2. การป้องกันคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หลังจากการนำระบบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างด้าวเข้า มาใช้การเตรียมการจัดรูปแบบตามกฎหมายและระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้ง การควบคุมโดยการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง สำหรับคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : workinkorea.org

ระบบกฏหมายในเกาหลี


ระบบกฏหมายในเกาหลี
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่สำคัญๆ ของเกาหลีใต้
(ก) กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน กฎหมายการจ้างงานประกอบไปด้วยกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายแรงงานต่างๆ ปรากฎในกฎหมายรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ฉบับปี ค.ศ. 1987 ในมาตราที่ 32 วรรค 3 โดยได้กล่าวถึงมาตรฐานสภาพการทำงานจะต้องเป็นไปตามกฎหมายในระดับที่สามารถ รับประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

* กฎหมายแรงงานมาตรฐาน (Labour Standard Act)
วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อระบุหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในสัญญาว่าจ้าง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายฉบับบนี้มีพัฒนาการไปในทิศทางการปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมของตลาดแรงงานและความพยายามในการเสริมสร้างระดับการคุ้มครองแรงงาน ผ่านการสร้างเสถียรภาพในการจ้างงาน

* กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum Wage Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยได้อนุญาตให้รัฐบาลสามารกำหนดระดับค่าแรงขั้นต่ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงจะอยู่ที่ 4,000 วอน ต่อชั่วโมง ค่าแรงรายวัน (ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) จะได้รับ 32,000 วอน ต่อวัน ค่าแรง รายเดือน (ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) จะได้รับ 836,000 วอน และค่าแรงรายเดือน (ทำงาน 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) จะได้รับ 904,000 วอน ตามลำดับ

* กฎหมายความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน (Equal Employment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันโอกาสและการปฏิบัติที่เท่าเทียม ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการจ้างงาน นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังระบุถึงการพัฒนาสถานะทางสังคมของแรงงานสตรี

* กฎหมายความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและสุขภาพ (Industrial Safety and Health Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมและ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่เหมาะสมสำหรับแรงงาน

* กฎหมายประกันการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม (Industrial Accidnet Compensation Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุจากการทำงานอย่าง รวดเร็วและเป็นธรรมภายใต้ระบบการประกันภัย
(ข) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (Collective Labour Relations)

* กฎหมายสหภาพการค้าและการปรับปรุงแรงงานสัมพันธ์ (Trade Union and Labour Relations Adjustment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานโดยให้แรงงานสามารถมีสิทธิในการ รวมตัว ต่อรองและดำเนินการร่วมกัน กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นหลักการการต่อรองร่วมกัน การจัดการปัญหาข้อพิพาททางแรงงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

* กฎหมายคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์ (Labour Relations Commission Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบ ไปด้วยผู้แทนจากฝ่ายแรงงาน นายจ้างและกลุ่มสาธารณชนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้เมื่อจะพิจารณาจ้างแรงงาน
1. ในการจ้างงานนั้น นายจ้างต้องให้โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง นายจ้างจะต้องไม่เลือกประติบัติต่อผู้หญิงโดยเหตุผลทางความแตกต่างทางเพศใน การกำหนดขั้นเงินเดือน การศึกษา/ฝึกอบรม การเลื่อนขั้น การเกษียณอายุ ฯลฯ
2. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 30 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานที่มีความพิการจำนวนมากกว่าร้อยละ 2 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบจะต้องเสียค่าปรับ
3. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 300 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานพ้นวัยเกษียณจำนวนมากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด
4. ด้วยเหตุผลของความปลอดภัย นายจ้างจะต้องไม่จ้างแรงงานที่ไม่มีคุณสมบัติในการทำงาน ปราศจากใบอนุญาตทำงานหรือทักษะในการทำงานที่อันตราย อาทิ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี
5. สตรีและเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่สามารถปฏิบัติงานอันตรายได้ นอกจากนี้ นายจ้างไม่สามารถจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่สำคัญๆ ของเกาหลีใต้
(ก) กฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน กฎหมายการจ้างงานประกอบไปด้วยกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายแรงงานต่างๆ ปรากฎในกฎหมายรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ฉบับปี ค.ศ. 1987 ในมาตราที่ 32 วรรค 3 โดยได้กล่าวถึงมาตรฐานสภาพการทำงานจะต้องเป็นไปตามกฎหมายในระดับที่สามารถ รับประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้

* กฎหมายแรงงานมาตรฐาน (Labour Standard Act)
วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้เพื่อระบุหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในสัญญาว่าจ้าง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กฎหมายฉบับบนี้มีพัฒนาการไปในทิศทางการปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมของตลาดแรงงานและความพยายามในการเสริมสร้างระดับการคุ้มครองแรงงาน ผ่านการสร้างเสถียรภาพในการจ้างงาน

* กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum Wage Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1986 โดยได้อนุญาตให้รัฐบาลสามารกำหนดระดับค่าแรงขั้นต่ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ค่าแรงขั้นต่ำ สามารถอ่านรายละเอียด คลิกที่นี่

* กฎหมายความเท่าเทียมในโอกาสการจ้างงาน (Equal Employment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันโอกาสและการปฏิบัติที่เท่าเทียม ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการจ้างงาน นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังระบุถึงการพัฒนาสถานะทางสังคมของแรงงานสตรี

* กฎหมายความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและสุขภาพ (Industrial Safety and Health Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมและ การสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่เหมาะสมสำหรับแรงงาน

* กฎหมายประกันการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม (Industrial Accidnet Compensation Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินทดแทนอุบัติเหตุจากการทำงานอย่าง รวดเร็วและเป็นธรรมภายใต้ระบบการประกันภัย
(ข) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (Collective Labour Relations)

* กฎหมายสหภาพการค้าและการปรับปรุงแรงงานสัมพันธ์ (Trade Union and Labour Relations Adjustment Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน รวมทั้งสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานโดยให้แรงงานสามารถมีสิทธิในการ รวมตัว ต่อรองและดำเนินการร่วมกัน กฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นหลักการการต่อรองร่วมกัน การจัดการปัญหาข้อพิพาททางแรงงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

* กฎหมายคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์ (Labour Relations Commission Act)
กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาแรงงานสัมพันธ์ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการแรงงานสัมพันธ์มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบ ไปด้วยผู้แทนจากฝ่ายแรงงาน นายจ้างและกลุ่มสาธารณชนที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ข้อควรรู้เมื่อจะพิจารณาจ้างแรงงาน
1. ในการจ้างงานนั้น นายจ้างต้องให้โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง นายจ้างจะต้องไม่เลือกประติบัติต่อผู้หญิงโดยเหตุผลทางความแตกต่างทางเพศใน การกำหนดขั้นเงินเดือน การศึกษา/ฝึกอบรม การเลื่อนขั้น การเกษียณอายุ ฯลฯ
2. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 30 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานที่มีความพิการจำนวนมากกว่าร้อยละ 2 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบจะต้องเสียค่าปรับ
3. นายจ้างที่จ้างแรงงานมากกว่า 300 คนจะต้องว่าจ้างแรงงานพ้นวัยเกษียณจำนวนมากกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนแรงงานปกติทั้งหมด
4. ด้วยเหตุผลของความปลอดภัย นายจ้างจะต้องไม่จ้างแรงงานที่ไม่มีคุณสมบัติในการทำงาน ปราศจากใบอนุญาตทำงานหรือทักษะในการทำงานที่อันตราย อาทิ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี
5. สตรีและเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีไม่สามารถปฏิบัติงานอันตรายได้ นอกจากนี้ นายจ้างไม่สามารถจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี โดยไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งออกโดยกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.mol.go.th

ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน Special EPS-TOPIK ครั้งที่ 2

ผู้สอบผ่าน กรุณาอ่านด้วยครับ
โปรดทราบ กรมการจัดหางานกำหนดให้ผู้สอบผ่านความสามารถภาษาเกาหลีกรณีพิเศษ Special EPS-TOPIK ครั้งที่ 2 มารายงานตัวตามกำหนดการด้านล่าง ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ชั้น 1 ภายในกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพฯ

ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน Special EPS-TOPIK ครั้งที่ 2

รายชื่อผู้สอบผ่าน คลิ๊กที่นี่ครับ

กำหนดการรายงานตัวผู้สอบผ่านความสามารถภาษาเกาหลีกรณีพิเศษ ครั้งที่ 2

วันที่ 3 เมษายน 2555 เฉพาะหมายเลขผู้สมัคร 90300001 – 90300178
วันที่ 4 เมษายน 2555 เฉพาะหมายเลขผู้สมัคร 90300179 – 90300361
วันที่ 5 เมษายน 2555 เฉพาะหมายเลขผู้สมัคร 90300362 – 90300610

ถ้าหากผู้สอบผ่านไม่ไปรายงานตัวตามกำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ในครั้งนี้ แต่กรมการจัดหางานยังให้โอกาสไปรายงานตัวพร้อมกันผู้สอบผ่านในครั้งต่่อไป ภายใน 1 ปี หลังจากประกาศผลสอบ ทั้งนี้ ความรับผิดชอบของผู้สอบผ่านต้องติดตามข่างเอง เพื่อไม่ให้เสียโอกาส

หลักฐานและเอกสารประกอบการสมัคร ดังนี้

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหนังสือเดินทาง ซึ่งมีอายุสามารถใช้งานได้อีกไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้เป็นหลักฐาน กรณีขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่มีชื่อ – สกุลภาษาอังกฤษและหมายเลขหนังสือเดินทาง จำนวน 1 ชุด (ต้องสะกดชือและนามสกุลให้ตรงกับในชื่อและนามสกุลที่ใช้สมัครสอบทุกตัวอักษร)
- ใบรับรองการตรวจสุขภาพว่าไม่เป็นโรคต้องห้าม ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่น้อยกว่า 1 เดือน จำนวน 1 ชุด
- ประกาศนียบัตรผู้สอบผ่านความสามารถภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) ขอรับที่จุดสมัคร
- สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
- สำเนาใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
- สำเนาวุฒิการศึกษา
- รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ ควรเป็นรูปที่ถ่ายในคราวเดียวกับรูปที่ใช้ในการสมัครสอบความสามารถภาษาเกาหลี

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : epsthailand.wordpress.com

แผนกำหนดจัดสอบความสามารถภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) ประจำปี 2555

แผนกำหนดจัดสอบความสามารถภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) ประจำปี 2555


แผนกำหนดการรับสมัครสอบความสามารถภาษาเกาหลี eps-topik

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : overseas.doe.go.th

มารยาทแบบเกาหลี

1. การทักทายและการบอกขอบคุณ เป็นเรื่องสำคัญมากของคนเกาหลี คนเกาหลีมักกล่าวคำทักทายและขอบคุณพร้อมก้มหัวคำนับเสมอ โค้งต่ำระดับไหนนั้นขึ้นอยู่กับความอาวุโสของผู้พูดทั้ง 2 ฝ่าย

2. คนเกาหลีไม่นิยมการแสดงออกโดยเปิดเผยและมักจะจำกัดการถูกเนื้อต้องตัวเพียงแค่การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพ อย่างไรก็ตามถ้ารู้จักคนเกาหลีดีขึ้นจะเกิดความคุ้นเคยกันเพิ่มขึ้น ชาวต่างชาติอาจแปลกใจที่เป็นผู้ชายโดยเฉพาะชายหนุ่มเดินตามถนนจับมือโอบไหล่กัน หรือผู้หญิงเดินจับมือกันการสัมผัสร่างกายเพื่อนสนิทขณะที่คุยกันถือว่ายอมรับกันได้ในประเทศเกาหลี แต่การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ เช่น กอดและจูบถือว่าไม่สมควร

3. สุขาสาธารณะสะอาดมีอยู่ทั่วประเทศเกาหลี และสามารถใช้ห้องสุขาในอาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านค้า หรือภัตตาคาร

4. ตามประเพณีดั้งเดิมคนเกาหลีนั่งรับประทาน และนอนบนพื้น ดังนั้น จึงควรถอดรองเท้าเสมอ ก่อนเข้าบ้านของคนเกาหลี เมื่อท่านไปเยี่ยมครอบครัวคนเกาหลีที่บ้านท่านควรสวมถุงเท้าหรือถุงน่อง เพราะการนั่งเท้าเปล่าต่อหน้าผู้มีอายุสูงกว่าถือว่าไม่สุภาพ

5. คนเกาหลีไม่ค่อยนิยม แชร์ค่าอาหารกัน ยกเว้นในกรณีพิเศษ ท่านควรเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ที่จะเป็นเจ้าภาพหรือไม่ก็เป็นแขก

6. ตามประเพณีการพูดคุยกันระหว่างมื้ออาหารมากเกินไปถือว่าไม่สุภาพ คนเกาหลีน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหาร และการบริการ การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหารถือว่าไม่สุภาพ

ที่มา : koreatakeiteasy.com

วิธีการทำข้อสอบ EPS-TOPIK CBT แบบคอมพิวเตอร์

ดาวโหลด คลิ๊กที่นี่ครับ


การใช้บริการรถแท็กซี่ในเกาหลี

แท็กซี่เกาหลี

รถแท็กซี่
ในประเทศเกาหลีมีแท็กซี่ไว้บริการมากมาย ราคาไม่แพง สะอาดปลอดภัย มีป้ายจอดสำหรับแท็กซี่อยู่ทั่วไปตามเขตเมืองที่จอแจ และท่านสามารถเรียกแท็กซี่ตามถนน นอกจากนั้นท่านยังสามารถเรียกแท็กซี่ทางโทรศัพท์ แต่แท็กซี่ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงกว่าแท็กซี่ธรรมดา มีจำนวนคนขับรถแท็กซี่ที่พอพูดภาษาอังกฤษได้บ้างเพิ่มมากขึ้น

รถแท็กซี่ธรรมดา
ระบบค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทางและเวลาที่ได้ใช้บริการไป ท่านจะต้องเสียค่าโดยสาร 1,600 วอน สำหรับ 2 กม. แรก และเสียอีก 100 วอน ทุกระยะ 168 ม. ที่เพิ่มขึ้น ถ้าจราจรติดขัดแท็กซี่วิ่งได้น้อยกว่า 15 กม. ต่อ 1ชม. ท่านต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้น 100 วอน ทุกระยะเวลา 41 วินาที ค่าโดยสารระหว่างสนามบินอินชนและย่านศูนย์การค้า ของโซล ปกติประมาณ 42,000 วอน (รวมค่าผ่านทาง) แต่อาจจะสูงกว่านี้ถ้าจราจรติดขัด ค่าโดยสารเพิ่มขึ้นระหว่างช่วงเวลา เที่ยงคืน ถึงตีสี่ 20%

บริษัทแท็กซี่
บริษัทที่มีชื่อว่าแท็กซี่ "Kind Call Taxi" และ "KT Powertel" ติดตั้งด้วยอุปกรณ์แปลภาษาเครื่องออกใบเสร็จรับเงิน และเครื่องใหข้อมูลไร้สายและระบบบอกตำแหน่งของแท็กซี่อัตโนมัติ (สามารถเรียกศูนย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ว่ามีแท็กซี่บริการเวลาไหน และจุดที่จะส่งไปรับผู้โดยสารใกล้ที่สุด) ค่าโดยสารเท่ากับแท็กซี่ธรรมดา และต้องเสีย 1,000 วอน ในการใช้บริการ

รถแท็กซี่แบบหรูหรา
ในประเทศเกาหลีเรียกรถแท็กซี่แบบหรูหราว่า "โมบ็อม" รถพวกนี้มีสีดำ ป้ายสีเหลืองข้างบน และมีคำว่า "Deluxe Taxi" เขียนอยู่ด้านข้าง รถเหล่านี้มีที่นั่งผู้โดยสารกว้างกว่า และมีบริการมาตรฐานสูง ท่านต้องเสียค่าโดยสาร 4,000 วอน สำหรับ 3 กม. แรก และเสียอีก 200 วอน ทุกระยะ 205 ม. ที่เพิ่มขึ้น หรือทุก ๆ 50 วินาที ในช่วงที่จราจรติดขัดและรถใช้ความเร็วได้ต่ำกว่า 15 กม.ต่อ 1 ชม. ค่าโดยสารปกติระหว่างสนามบินคิมโพ และย่านใจกลางเมืองประมาณ 69,000 วอน รวมค่าทางด่วนแล้ว รถแท็กซี่ประเภทนี้จะออกใบเสร็จให้ท่าน และไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มในกรณีที่ใช้บริการตอนกลางคืนดึก ๆ ท่านสามารถเรียกแท็กซี่ประเภทนี้ได้ตามป้ายจอดตามโรงแรมต่าง ๆ สถานีต่าง ๆ สถานีปลายทางรถโดยสารและตามถนนในเมืองใหญ่ทั่วไป ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Tel.02-558-8000

รถแท็กซี่ขนาดใหญ่
ให้บริการรถตู้รับผู้โดยสารได้ 8 คน รถดังกล่าวยังติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นภาษาต่างประเทศเช่น โทรศัพท์, เครื่องออกใบเสร็จรับเงิน และบริการชำระผ่านบัตรเครดิต อัตราค่าโดยสารจะเหมือนกับรถแท็กซี่แบบหรูหรา ผู้โดยสารสามารถบรรทุกกระเป๋าได้มากขึ้นเพื่อความสะดวก เรียกบริการรถได้ที่ Tel.02-888-2000

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : koreatakeiteasy.com

นิสัยคนเกาหลี

นิสัยคนเกาหลี

พื้นฐานเดิมเกาหลีเคยตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น 35 ปีและก่อนหน้านั้นก็เคยตกอยู่ใต้การปกครองของจีน มองโกเลีย ทำให้ชาวเกาหลีตระหนักถึงความยากลำบากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งคือ ความขยันหมั่นเพียร เพื่อที่จะเอาชนะความยากลำบากเหล่านั้น และด้วยลักษณะนิสัยดังกล่าวนี้เอง เป็นส่วนทำให้ประเทศเกาหลีกลายเป็นประเทศพัฒนาเช่นปัจจุบันชาวเกาหลีจะมีนิสัยพูดเสียงดัง เนื่องจากว่าการพูดเสียงดังแสดงถึงพลังและอำนาจ และความเข้มแข็ง ดังนั้น ขณะสนทนากับชาวเกาหลี แม้ว่าจะอยู่ใกล้กันก็ตามแต่เขาจะพูดเสียงดังทีเดียว ทำให้ชาวต่างชาติรู้สึกเหมือนตะคอก หรือตะโกน แต่หากถามชาวเกาหลีแล้ว การพูดเสียงดังเช่นนั้นเป็นเรื่องปกติ
         ชาวเกาหลีจะเอาใจใส่กับงานที่ตนเองทำหรือรับผิดชอบ จะเอาจริงเอาจังกับนั้นมากทีเดียวชาวเกาหลีมักจะคิดเร็ว ทำเร็ว จนมีคำกล่าวว่า ทุกอย่างต้องเร็วหมด เนื่องจากสภาพที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นทำให้เขากระทำทุกอย่างด้วยความเร็ว จะสังเกตได้ง่าย เช่น การทำงาน มีความรู้สึกว่าเขาทำงานด้วยความเร็วสูง หรือการเดินในที่สาธารณะ เพราะความเร็วนี้เอง เมื่อเดินในที่สาธารณะจะปะทะกับผู้อื่นตลอดเวลา สร้างความไม่พอใจให้กับชาวต่างชาติ แต่สำหรับชาวเกาหลีแล้ว การเดินปะทะกันเช่นนั้นไม่ใช่สิ่งแปลก ปัจจุบันนี้สภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมาก ก็ยิ่งสร้างความเร็วให้กับชาวเกาหลีมากยิ่งขึ้นเมื่อไปรับประทานอาหารร่มกันหลาย ๆ คน คนเกาหลีจะไม่แยกกันจ่ายหรือเฉลี่ยกัน โดยทั่วไปแล้ว คนที่ชวนคนอื่นจะเป็นผู้จ่าย และมักจะเลี้ยงอาหารดี ๆ เพื่อให้ประทับใจ
         นอกจากข้างต้นแล้ว สามารถสรุปนิสัยด้านดีของชาวเกาหลีได้ดังนี้ คือ บากบั่น ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ มั่นคง เคารพบรรพบุรุษ เป็นคนช่างคิด รักในการเรียน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีความกตัญญู ความเป็นชาตินิยมสูง
         ข้อเสียของชาวเกาหลี คือ ยึดตัวเองเป็นหลักมากเกินไป แบ่งพรรคแบ่งพวก การเอาชนะผู้อื่น ขาดเหตุผล มองโลกในแง่ร้าย มักไม่ไว้ใจคนอื่น มีข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวตลอดเวลา

การทักทาย

        การทักทายของชาวเกาหลีจะใช้การโค้งคำนับ ซึ่งจะโค้งมากน้อยขึ้นอยู่กับความอาวุโสของผู้ที่รับการคำนับ

วัฒนธรรมเกาหลี

        ในปัจจุบันสังคมเกาหลีได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จีน และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นวัฒนธรรมบางส่วนได้เปลี่ยนไปบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ถือว่าเป็นรุ่นที่ยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากที่สุด เกาหลีมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย แต่ในที่นี้จะขอเอ่ยถึงวัฒนธรรมที่สำคัญเท่านั้น

วัฒนธรรมการแต่งกาย

        ปัจจุบันชาวเกาหลีจะแต่งกายแบบสมัยนิยม แต่หากเป็นงานพิธี เช่น พิธีแต่งงาน พิธีวันเกิด หรือการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ก็จะนิยมแต่งกายโดยชุดประจำชาติ ซึ่งชุดประจำชาติของเกาหลี เรียกว่า “ฮันบก” หากแปลตามตัวอักษรแล้ว “ฮัน” หมายถึงชาวเกาหลี “บก” หมายถึงเสื้อผ้า หรือชุด รวมแล้วหมายถึง ชุดของชาวเกาหลีนั่นเอง
         ชุดฮันบกมีหลายลักษณะ ซึ่งจะออกแบบตามฤดูกาล เช่น ชุดฮันบกฤดูร้อนกับหนาว ความหนาของเนื้อผ้าและชุดจะแตกต่างกัน ชุดฮันบกของผู้สูงอายุกับวัยรุ่นหรือเด็ก ๆ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ฮันบกของผู้อาวุโส จะเป็นสีพื้นหรือสีทึบ ๆ แต่ของวัยรุ่น จะมีลักษณะหลากสีสัน ชุดฮันบกสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้หญิงที่สวมใส่นั้นแต่งงานหรือยัง หากมีลักษณะหลากสีสัน และมีแถบสีที่แขนหลาย ๆ แถบ แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นยังไม่แต่งงาน และนิยมถักเปียยาวอีกด้วย หากเป็นชุดฮันบกสีขาว หมายถึง ชุดไว้ทุกข์ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว ชาวเกาหลีจะไมใส่ชุดฮันบกสีขาว ในปัจจุบันผู้ที่สวมใส่ชุดฮันบกมักจะเป็นผู้ที่แต่งานแล้ว และเป็นผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่

วัฒนธรรมการกิน

        อาหารหลักของชาวเกาหลี คือ ข้าว เช่นเดียวกับคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ลักษณะของกับข้าวนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะรสชาติของเกาหลีนั้น จะมีความเผ็ดน้อยกว่าของไทย ทำให้ชาวไทยคิดว่าชาวเกาหลีรับประทานอาหารรสไม่จัด อาหารเกาหลีจะมีอาหารประเภทผักมากกว่าเนื้อ ชาวเกาหลีจะปลูกฝังให้ลูกหลานรับประทานผักมากกว่าเนื้อ
         สำหรับอาหารที่เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของเกาหลี คือ กิมจิ เป็นพวกผักดอง โดยใส่เครื่องปรุงรสลงไป ทุกครั้งที่รับประทานอาหารกิมจิจะต้องปรากฏบนโต๊ะอาหาร หากขาดกิมจิอาหารมื้อนั้นก็จะขาดรสชาติไปเลย หากบ้านไหนหรือร้านไหนทำกิมจิอร่อย ถือว่าบ้านนั้นทำกับข้าวได้อร่อยด้วย อาหารเกาหลีในแต่ละภูมิภาคนั้น จะมีรสชาติที่แตกต่างกัน จังหวัดชอลลาโด ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่อาหารอร่อยที่สุด อาหารที่ขึ้นชื่อได้แก่ พิบิมบับ ( ข้าวยำ ) คงนามูลกุกบับ ( ข้าวต้มถั่วงอก ) นอกจากนี้ยังมีอาหารชุด ซึ่งมีกับข้าวมากกว่า 20 ชนิด ( ฮันจองชิก )
         ชาวเกาหลีไม่นิยมนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะ แต่จะนั่งบนพื้นและมีโต๊ะสำหรับวางอาหาร ( พับซัง ) มีถ้วยซุปซึ่งวางทางด้านขวาของข้าวและมีช้อนกับตะเกียบวางอยู่ ชาวเกาหลีใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารซึ่งเป็นตะเกียบเหล็ก บนโต๊ะกับข้าว อาจมีหม้อแกงใหญ่วางอยู่ ซึ่งทุคนใช้ตะเกียบหรือช้อนของตนเองตักอาหาร ไม่ใช้ช้อนกลาง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และปรองดองกันได้เป็นอย่างดี
         มารยาทอย่างหนึ่งของการรับประทานอาหารคือ คนที่อาวุโสที่สุด ณ ที่นั้น จะเป็นผู้ที่จับช้อน ตะเกียบตักอาหารก่อน หลังจากนั้น ผู้น้อยจึงจะสามารถรับประทานอาหารได้ และเราจะต้องรับประทานอาหารที่ตักมาให้หมด หากรับประทานไม่หมดถือว่าอาหารนั้นไม่อร่อย

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : learners.in.th

ประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลีใต้

ประวัติศาสตร์ประเทศเกาหลีใต้

ในยุคแรกๆ (57 ปีก่อนคริสตกาล ถึงค.ศ. 668) เกาหลีปกครองด้วย 3 อาณาจักรคือ โคกุเรียว (Koguryo) เป็กเช (Paekche) และชิลลา (Shilla) ชึ่งปกครองทั้งคาบสมุทรเกาหลีและพื้นที่ส่วนใหญ่ในแมนจูเรีย ต่อมาในปี ค.ศ. 676 อาณาจักรชิลลาก็รวมคาบสมุทรทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเป็นครั้งแรกและได้สถาปนาอาณาจักรใหม่ชื่อว่าอาณาจักรโคเรียว
อาณาจักรโคเรียว (Koryo,ค.ศ.918-1392) เป็นยุคที่ปกครองโดยขุนนาง มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ชื่อ “เกาหลี” (Korea) ก็เพี้ยนมาจาก “Koryo” นั้นเอง
• ราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเกาหลี เป็นช่วงเวลาที่มีการปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ โดยได้รับอิทธิพลมาจากขงจื้อ ซึ่งราชวงศ์นี้ได้สร้างวรรณคดีและประดิษฐ์ตัวอักษรเกาหลีที่เรียกว่าอันกึล โดยมีเมืองฮันยาง (Hanyang) (กรุงโซล ) เป็นเมืองหลวง
ปี ค.ศ. 1910 ก็ถูกการรุกรานของญี่ปุ่นและถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โชซอน เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นอยู่ 35 ปี จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร และถอนกำลังออกจากคาบสมุทรเกาหลี ตั้งแต่นั้นเกาหลีก็ออกแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ (สาธารณรัฐเกาหลี)เป็นประเทศประชาธิปไตย กับสาธารณรัฐประชาชนเกาหลี หรือเกาหลีเหนือ ที่เป็นประเทศคอมมิวนิสต์
สงครามเกาหลีเริ่มขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1950 โดยทางเกาหลีเหนือบุกรุกทางเกาหลีใต้ ข้อตกลงสงบศึกเกิดขึ้นใน 3 ปีต่อมา โดยมีการกำหนดเส้นขนานที่ 38 และเขตปลอดทหาร จากนั้นเกาหลีใต้ได้พยายามฟื้นฟูตัวเองจากภาวะสงคราม ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ
เกาหลีในปัจจุบัน
เกาหลีในปัจจุบัน
เกาหลีสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่จากภาวะของสงคราม และประสบความสำเร็จทางศรษฐกิจอย่างมากในช่วงเวลาเพียง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวอย่างแก่ประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศในปัจจุบัน
เกาหลีนั้นมีความงามทางวัฒธรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนประเทศอื่นในเอเชีย เกาหลีกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และยิ่งไปกว่านั้นการได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญต่างๆก็ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเกาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 กรุงโซลได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปีค.ศ. 1993 เป็นเจ้าภาพงานแทชอนเอ็กซ์โป ปีค.ศ. 1944 ปีท่องเที่ยวของเกาหลี มีการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 600 ปีที่กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของเกาหลี และในปีค.ศ. 2002 เกาหลีได้เป็นเจ้าภาพที่เมืองพูซานจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติอย่างเอเชี่ยนเกมส์ที่เมืองพูซาน และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกร่วมกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นการจัดฟุตบอลโลกครั้งแรกในเอเชีย
เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด คือเคียงกิ (Gyeonggi) , กังวอน (Gangwon) , ชุงชองเหนือ(Chungcheonbuk), ชุงชองใต้(Chungcheonam) ,ซอลลาเหนือ(Jeollabuk),ซอลลาใต้ (Jeollanam),เคียงซางเหนือ(Gyeongsangbuk),เคียงซางใต้ (Gyeongsangnam),และเชจู(Jeju) และอีก 6 เขตการปกครอง –Metropolitan City คือพูซาน (Busan) แทกุ (Daegu) อินชอน (Incheon) กวางจู (Gwangju) แทจอน (Daejeon) และอุลซาน (Ulsan) โดยมีเขตการปกครองพิเศษ –Specile City คือกรุงโซล เป็นเมืองหลวงของประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1948 ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตะแหน่ง 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : korea.tlcthai.com

การขับขี่รถในประเทศเหลี

การขับขี่รถในประเทศเหลี

การขับรถในประเทศเกาหลี
 บางท่านอาจจะไม่มีใบขับขี่ถ้าไม่มีใบขับขี่ให้ท่านไปทำได้ที่สถานที่สอบใบขับขี่ใกล้ที่ท่านอาศัยซึ่งตอนในสถานที่ต่างๆมีภาษาเวียดนาม.ไทย.อังกฤษ.จีน.มีไว้ให้ท่านสอบท่านสามารถไปติดสอบถามที่สถานที่สอบใบขับขี่ใกล้ที่ท่านอาศัย ในกรณีที่ท่านมีใบขับขี่ของประเทศไทยอยู่แล้วให้นำไปแปลที่สถานฑูตไทยในกรุงโซลและนำไปของเปลี่ยนใบขับขี่ของเกาหลีที่สถานที่สอบใบขับขี่ได้
(ต้องมีใบขับขี่ไทยไปด้วย)ถ้าท่านไม่มีใบขับขี่ไทยที่สถานที่สอบขับขี่รถจะต้องให้ท่านลงทะเบียนลงสอบรับใบขับไทยไหม่)
ในกรณีผู้ที่ขับรถขับผิดกฏจราจรถ้าเป็นแรงงานที่ผิดกฏหมายเมื่อทำเรื่องคดีแล้วส่งกลับประเทศทันที่ถ้าเป็นแรงงานที่ถูกหมายทำผิดกฏหมายทำเรื่องคดีแล้วเสียค่าปรับแต่มีผลเสียตามมาเมื่อท่านครบ3ปีแล้วต้องการเดินทางกลับเข้ามาใหม่เพราะฉนั้นเวลาขับรถเมาแล้วห้ามขับถ้าไม่มีใบขับขี่ก็ไม่สมควรขับเช่นกัน
ในกรณีที่ท่านให้เพื่อนยืมชื่อซื้อรถ
แรงงานไม่สมควรให้เพื่อนที่ผิดกฏหมาย(ภาษาที่พวกเราคุ้นกันไม่ว่าจะเป็นผี.หรือปอบ.)ยืมเอกสารหนังสือเดินทางบัตรประชาชนของคนต่างด้าวเป็นต้นไม่ว่าท่านจะนับถือเขาคนนั้นมากน้อยขนาดไหนก็ตามถ้ามีการขอยืมเอกสารเหล่านี้ต้องคิดถึงปัญหาและผลเสียที่จะตามมาที่หลังซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถึงแม้ว่าท่านจะไม่ใช่ผู้ที่กระทำความผิดก็ตามตราบใดที่สิ่งของนั้นๆเป็นนามของท่านๆจะต้องรับผิดชอบเช่นการให้เพื่อนยืมชื่อซื้อรถขับขี่เช่นกันถ้าเพื่อนคนที่ขับขี่รถนั้นเกิดกระทำการผิดกฏจราจรหรือเกี่ยวกับการผิดกฏหมายของประเทศเกาหลีท่านจะต้องตกเป็นผู้กระทำความผิดและต้องได้รับโทษตามกฏหมายของประเทศเกาหลี
ในกรณีที่ท่านให้เพื่อนยืมเอกสารไปเมื่อคนที่ยืมเอกสารของท่านไปเกิดกระทำในสิ่งที่ผิดกฏหมายเกิดขึ้นท่านก็จะโดนข้อหาเช่นเดียวกัน เมื่อท่านครบกำหนดในการทำงานที่ประเทศเกาหลี3ปีแล้วต้องการเดินทางเข้ามาใหม่สำหรับผู้ที่กระทำการผิดกฏหมายท่านไม่สามารถที่จะเดินทางเข้ามาที่ประเทศเกาหลีได้อีกเพราะท่านมีความผิดอยู่แล้วทางกระทรวงแรงงานไม่อนุญาติให้ออกวีซ่าให้ได้ควรคิดให้ดีในการขับขี่รถในต่างประเทศ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

กฏหมายในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อนแรงงานชาวต่างชาติควรทราบ

กฏหมายในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อนแรงงานชาวต่างชาติควรทราบ

เรามาเรียนรู้กฏหมายในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อนแรงงานชาวต่างชาติควรทราบไว้ เพื่อนๆทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในต่างแดนสว่นน้อยมากจะที่รู้จักกฏหมายเหล่านี้เป็นเพราะหลายสาเหตุที่เพื่อนๆทั้งหลายไม่เข้าใจและไม่อาจทราบได้ก็มีมากอย่างเช่นกฏหมายในการใช้ชีวิตประจำวันเหล่านี้เมื่อท่านรู้และทำความเข้าใจในกฏหมายของประเทศเกาหลีแล้วควรปฏิบัติตามเพราะเป็นกฏระเบีนยบที่จำเป็นต้องบังคับใช้ไปตลอดในกฏหมายของประเทศเกหลี
[ การเดินข้ามถนน สัญญาณไฟ
ถ้าท่านข้ามถนนโดยไม่ทำตามสัญญาณไฟเขียวข้ามถนนแบบผิดระเบียบท่านจะต้องได้รับโทษโดยการเสียค่าปรับตามฏกหมายจราจรทางบกมาตราที่8วรรคที่1มาตราที่10วรรคที่2F4ถ้าโดนตรวจเจอโดยสายตำรวจสายตรวจค่าปรับครั้งล่ะ 2หมื่อนวอนถึง3หมื่นวอน
[สูบบุหรี่ในสถานที่ต้องห้ามบทลงโทษค่าปรับ
ค่าปรับตามมาตราที่1วรรคที่54
สถานที่ต้องห้ามในสถานีรถไฟใต้ดิน,ป้ายรถเมล์,ในลิฟ,โรงพยาบาลสถานที่ราชการ,สนามกีฬา,และสถานที่อื่นที่ต้องห้าม ค่าปรับ2หมื่นวอนถึง3หมื่นวอนถึง3หมื่นวอน
[ การทิ้งก้นบุหรี่, หมากฝรั่ง , ถุยน้ำลาย, หรือเศษขยะอื่นๆไม่ถูกต้องตามสถานที่ราชการหรือพื้นที่ทั่วไป
บทลงโทษในการกระทำผิดดังกล่าวนี้กระทำผิดขั้นเบาตามมาตรา1ข้อที่16ทิ้งขยะไม่ถูกต้องทิ้งก้นบุหรี่ , หมากฝรั่ง,  ค่าปรับ5หมื่อนวอน, เศษขยะอื่นๆ3หมื่อนวอน
[ การเล่นการพนัน,เล่นไพ่,เล่นไฮโร,รวมถึงสื่งที่ถือว่าเป็นการพนันอย่างอื่นด้วย
บทลงโทษในการกระทำผิดดังกล่าวนี้กระทำผิดตามมาตรากฏหมายอาญาที่246และมาตราที่247
(ผู้ที่เล่นการพนันและเจ้าของสถานที่เล่น)ปรับไม่เกิน2- 5 ล้านวอนจำคุกประมาณ3ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
    [ ผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศเกาหลีทุกท่านผู้ที่ไม่พกบัตรต่างด้าวหรือหนังสือเดินทางติดตัวถ้าตรวจเจอต้องเสียค่าปรับตามกฏหมายตรวจคนเข้าเมืองตามมาตราที่27
บทลงโทษเสียค่าปรับไม่เกิน 1ล้านวอน
[ ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ถ้าไม่สวมใส่หมวกกันน๊อกบทลงโทษตามมาตราที่50วรรคที่3
บทลงโทษตามกฏหมายจราจรทางบกเสียค่าปรับ1-2หมื่นวอน
[ ผู้ที่มีอาวุธครอบครองหรือซุกซ่อนไว้จะต้องถูกลงโทษตามกฏหมายมาตราที่2ข้อที่1
บทลงโทษเสียค่าปรับ2แสนวอนหรือทั้งจำทั้งปรับ


ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr

การแจ้งรับเงินกุกมินหยอนกึม

การแจ้งรับเงินกุกมินหยอนกึม

 การแจ้งรับเงินบำบาญ(국민연금)มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว
สำหรับแรงงานต่างชาติทุกท่านที่ครบกำหนดในการทำงานที่ประเทศเกาหลีเริ่มตั้งแต่นี้เป็นต้นไปหากแรงงานท่านใดครบสัญญาการจ้างงานแล้วหรือเดินทางออกไปโดยไม่กลับเข้ามาอีก ในปัจจุบันนี้บริษัทกุกมินหยอนกึมได้มีการเปลี่ยนในการแจ้งขอรับเงินบำนาญดังต่อไปนี้
1. แรงงานจะต้องเดินเรื่องขอรับเงินกุกมินหยอนกึมก่อนเดินทางออก1เดือน
2. หลังจากที่ท่านเดินเรื่องไว้แล้ว1เดือนท่านจะได้รับกุกมินหยอนกึมก้อนนี้ที่สนามบินอินชอลก่อนเดินทางออก
3. ที่สนามบินอินชอลมีสำนักงานกุกมินหยอนกึมอยู่ที่นั้น
4. เอกสารในการแจ้งรับมีสำเนาหนังสือเดินทาง,สำเนาบัตรต่างด้าว, สมุดบัณชีธนาคารที่เปิดในประเทศเกาหลี,ตั๋วเครื่องบิน,เอกสารในการแจ้งขอเดินทางออกจากสำนักงานจัดหางาน(อยู่เขตไหนไปแจ้งที่เขตนั้นๆ)นายจ้างหรือลูกจ้างสามารถเดินเรื่องรับได้(เงินก้อนนี้รับในวันที่ท่านจะบินออกเท่านั้นหากไม่กำหนดวันบินไม่มีการจ่ายเงินจำนวนนี้ให้
คำเตือน
แรงงานทุกท่านไม่ควรทิ้งสลิบเงินเดือนเพราะหากนายจ้างหักเงินจำนวนนี้ไปแล้วไม่ส่งให้บริษัทกุกมินหยอนกึมท่านจะไม่ได้รับฉนั้นควรเก็บสลิปเงินเดือนเพื่อเป็นหลักฐานและแรงงานควรเข้าไปตรวจสอบที่บริษัทกุกมินหยอนกึมด้วยว่าตั้งแต่บริษัทแรกจนถึงบริษัทปัจุบันมีเงินสะสมเท่าไหรหากบริษัทที่เคยทำงานอยู่หักไปแล้วไม่ส่งให่ควรโทรหานายจ้างบริษัทนั้นๆให้ส่งเงินจำนวนนั้นเข้าให้ด้วยหรือหากนายจ้างไม่ทำตามควรยื่นเรื่องฟ้องร้องได้เลย
สาเหตุที่บริษัทกุกมินหยอนกึมมีการเปลี่ยนแปลงก็คือสว่นใหญ่แรงงานที่เดินเรื่องไว้แล้วเมื่อเดินทางออกไปได้รับเงินล่าซ้าและสาเหตุที่ได้รับเงินล่าซ้าก็คือนายจ้างไม่ส่งเงินภาษีดังกล่าวนี้ตามที่บริษัทกุกมินแจ้งไปหากนายจ้างยังส่งไม่หมดถึงแม้ว่าแรงงานจะแจ้งเรื่องรับไว้แล้วก็ตามจะยังไม่สามารถรับได้หากนายจ้างส่งเงินภาษีที่หักไปนี้หมดแรงงานจึงจะมีสิทธิรับ

ขอบคุณที่ติดตามบล็อก konthai 122
ที่มา : saladtv.kr